รับตรวจสอบบัญชี
โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
พร้อมทีมงานที่มีความรู้ความสามารถโดยตรง มากด้วยประสบการณ์ ตรวจสอบบัญชีบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด รับตรวจสอบบัญชีทุกธุรกิจ เน้นคุณภาพ ทันเวลา ในราคาที่เหมาะสม


#
#
#
#
#
#
#
#
#
#
#
#
#
#
#


  • การสอบบัญชี

    วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี
    ตามมาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 200 เรื่องวัตถุประสงค์และหลักการพื้นฐานของการสอบบัญชีได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชีดังนี้
    “การตรวจสอบงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญ
    เป็นไปตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินหรือไม่”
    ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบงบการเงิน คือ การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสด
    ของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

    การสอบบัญชี
    การสอบบัญชี หมายถึงกระบวนการรวบรวม และการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศเพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้อง
    ต้องกันของสารสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ


  • ประเภทการสอบบัญชี

    ประเภทของการตรวจสอบ
    1. การตรวจสอบงบการเงิน หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีและรายงานทางการเงิน เช่น งบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อประเมินว่าข้อมูลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ เชื่อถือได้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยผู้สอบบัญชีทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินเพื่อแสดงความเห็นต่อความถูกต้องของงบการเงินนั้น โดยปฎิบัติตามหลักการพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
    - มรรยาทผู้สอบบัญชี
    - มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
    - การใช้วิจารณญานในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
    2. การตรวจสอบการดำเนินการ หมายถึง การสอบทานขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ต่างๆในองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่า ลำดับขั้นตอน ในการปฎิบัติงานและภาระหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้
    มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และผลของงานนั้นได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
    3. การตรวจสอบการปฎิบัติงานตามกฏระเบียบ หมายถึง การตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฎิบัติงานขององค์กรเป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ
    ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล และกฏระเบียบนโยบายขององค์กร
    มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
    มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง แนวทางการปฎิบัติงานของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องปฎิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐาน
    การสอบบัญชี https://acpro-std.tfac.or.th/standard/3/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5

  • กระบวนการสอบบัญชี

    กระบวนการสอบบัญชี
    การสอบบัญชีเป็นกระบวนการของการรวบรวมและประเมินหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถสรุปผลการตรวจสอบและ
    จัดทำรายงานการสอบบัญชีได้
    กระบวนการสอบบัญชีแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน
    1. กระบวนการวางแผน
    1.1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี
    1.2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
    1.3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
    1.4 การกำหนดระดังความมีสาระสำคัญ
    1.5 การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง
    1.6 การทำความเข้าใจระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
    1.7 การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและการจัดทำแนวการสอบบัญชี

    2. การปฏิบัติงานตรวจสอบ ประกอบด้วย การทดสอบการควบคุมและการตรวจสอบเนื้อหาสาระ
    2.1 วงจรรายได้
    2.2 วงจรรายจ่าย
    2.3 วงจรการผลิต
    2.4 วงจรการลงทุน
    2.5 วงจรการจัดหาเงิน
    2.6 การตรวจสอบที่สำคัญเพิ่มเติม

    3. การเสร็จสิ้นการสอบบัญชีและการออกรายงานการสอบบัญชี
    3.1 การประเมินผลจากหลักฐานการสอบบัญชี
    3.2 การเสนอรายการปรับปรุงและรายการจัดประเภทบัญชี
    3.3 การออกรายงานการสอบบัญชี

  • A - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

    -

  • B - เงินลงทุนชั่วคราว

    -

  • C - ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

    -

  • IV - สินค้าคงเหลือ

    -

  • D - เงินให้กู้ยืมระยะสั้น

    -

  • L - เงินให้กู้ยืมระยะยาว

    -

  • K - เงินลงทุนระยะยาว

    -

  • F - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

    -

  • FA - ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

    -

  • IA - สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

    -

  • O - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

    -

  • AA - เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

    -

  • BB - เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

    -

  • CC - ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

    -

  • EE - เงินกู้ยืมระยะสั้น

    -

  • FF - ภาษีเงินได้ค้างจ่าย

    -

  • HH - หนี้สินหมุนเวียนอื่น

    -

  • II - เงินกู้ยืมระยะยาว

    -

  • KK - ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

    -

  • MM - หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

    -

  • CAP-C - ทุนหุ้นสามัญ

    -

  • CAP-C - ทุนหุ้นสามัญ

    -

  • RE - กำไรสะสม

    -

  • RA - รายได้จากการขาย

    -

  • RB - รายได้จากการบริการ

    -

  • RC - ดอกเบี้ยรับ

    -

  • RD - กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

    -

  • RO - รายได้อื่น

    -

  • EC - ต้นทุนขาย

    -

  • ED - ต้นทุนการให้บริการ

    -

  • ES - ค่าใช้จ่ายในการขาย

    -

  • EA - ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

    -

  • EO - ค่าใช้จ่ายอื่น

    -

  • EF - ต้นทุนทางการเงิน

    -

  • ET - ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

    -

ข้อมูลวิชาชีพบัญชี