บริการระบบงานทรัพยากรบุคคล

       - บริการระบบงานเงินเดือน
       เงินเดือนเป็นความลับของบางองค์กร การจัดการภายในที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจทำให้เกิดปัญหาด้านข้อมูลเงินเดือน CWPS มีบริการจัดทำบัญชีเงินเดือน คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประกันสังคม(ยื่นเข้า-ออก) และจัดทำสลิปเงินเดือนออกสลิป และหนังสือรับรองให้พนักงาน รวมถึงระบบโอนเงินอัตโนมัติตามนโยบายการจ่ายเงิน ผ่านระบบ Payroll ของธนาคาร เพื่อเข้าบัญชีรายบุคคลของพนักงาน
   
      - รับจัดหาบุคคลากรด้านบัญชีและแอดมิน
      - รับปรึกษาแรงงานต่างด้าว
      - ขอวิซ่าและ ใบอนุญาตทำงาน Visa & Work Permit

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร  095-935-7888


#


  • นิยาม "ค่าจ้าง" ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้าง และลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้
    HR จะต้องทำความเข้าใจว่า เงินที่กำหนดจ่ายให้ลูกจ้าง โดยมีชื่อเรียกต่างๆนาๆนั้น เป็นค่าจ้างหรือไม่ เพื่อจะได้กำหนดค่าชดเชยและจ่ายเงินสมทบประกันสังคมได้ถูกต้อง (พรบ.ประกันสังคม 2533 กำหนดเรื่องค่าจ้างในมาตรา5 มีข้อความคล้ายๆกัน ) ดังนั้น องค์ประกอบของค่าจ้าง มีดังนี้

    1)เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน

    2)นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง

    3)สำหรับการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน

    ทั้งนี้ ต้องเป็นเงินของนายจ้าง ถ้าเป็นเงินทิปของลูกค้า ที่นายจ้างนำมาเฉลี่ยจ่ายให้ลูกจ้าง ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง และต้องจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ดังนั้น เงินที่นายจ้างจ่ายไม่ใช่เป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง มีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

    1)จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ หมายถึง นายจ้างจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในด้านต่างๆ เช่น ค่าอาหาร ค่าเครื่องแบบ ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเล่าเรียนบุตร เงินฌาปนกิจศพ ค่าคลอดบุตร ค่าประกันอุบัติเหตุ เงินโบนัส ค่าภาษี ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ เป็นต้น

    2)จ่ายเพื่อจูงใจลูกจ้างให้ทำงานมากกว่ามาตรฐานปกติ

    3)จ่ายเพื่อให้ลูกจ้างออกจากงาน เช่น ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหายฐานเลิกจ้างที่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หรือค่าเสียหายที่ผิดสัญญาจ้าง

    4)จ่ายเพื่อทดแทนเงินหรือสิ่งที่ลูกจ้างจ่ายไป เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน เป็นต้น

    5)จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาหรือเกินเวลาในวันทำงานเป็นค่าล่วงเวลา

    6)จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาหรือเกินเวลาในวันหยุดเป็นค่าล่วงเวลาในวันหยุด

    7)ค่าจ้างที่ได้โดยไม่ต้องทำงานได้แก่

    7.1)เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลา

    7.2)ลูกจ้างไม่ได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย

    7.3)ค่า จ้างในวันหยุด เช่น ลูกจ้างรายเดือนได้ค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ ลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง และลูกจ้างตามผลงานได้ค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นต้น

    8)ค่าจ้างในวันลา เช่น ลาป่วยปีละไม่เกิน 30 วันทำงาน ลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกินครรภ์ละ 45 วัน เป็นต้น

    ทั้งนี้ เงินที่จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ เพื่อจูงใจลูกจ้าง ข้างต้น จะ ต้องไม่ใช่การจ่ายให้เป็นการประจำแบบไม่มีเงื่อนไขในการจ่าย หรือเป็นการจ่ายโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกจ้างจะนำไปใช้ เช่น เบี้ยขยัน ถ้าจ่ายให้พนักงานทุกคน ได้รับเบี้ยขยันเป็นประจำเดือนละ 500 บาท ถือว่าเบี้ยขยันเป็นค่าจ้าง ค่าน้ำมันรถถ้าเป็นการเหมาจ่าย ไม่ต้องแสดงใบเสร็จรับเงิน ได้รับเงินเท่าๆ กันทุกเดือน ถือว่าค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้างเช่นกัน เป็นต้น

    ดังนั้น HR ต้องมีประกาศหรือระเบียบกำหนดเงื่อนไขว่า การจ่ายเงินเพื่อเป็นสวัสดิการหรือเงินเพื่อการจูงใจมีข้อกำหนดอย่างไร ใครที่จะได้รับ จะต้องปฏิบัติอย่างไร แสดงเอกสารหรือหลักฐานอะไรบ้าง กรณีใดบ้างที่จะไม่ได้รับเงินดังกล่าว เช่น เบี้ยขยัน จะต้องไม่มาทำงานสาย ไม่ลากิจ ไม่ลาป่วย ไม่ขาดงาน ยกเว้นการใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นต้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีหลักฐานในการยืนยันกับหน่วยงานราชการ

    ถ้าเงินใดถือว่าเป็นค่าจ้าง HR มีหน้าที่ต้องนำเงินนั้นๆ ไปบวกเพิ่มเพื่อใช้คำนวณในการจ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคมต่อไป และมีเรื่องที่ HR ต้องระมัดระวังอีกเรื่อง ก็คือ เงินนั้นถือเป็นรายได้ที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันทางกรมสรรพากรมีแนวโน้มที่จะขยายฐานภาษี โดยการตรวจสอบว่าพนักงานมีรายได้อื่น ที่ไม่ใช่สวัสดิการหรือไม่ โดยจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป



    เครดิต http://www.oknation.net/blog/Smartlearning/2010/09/21/entry-1

  • หน้าที่ ฝ่ายบริหารทรัพยากรงานบุคคล HRM

    ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่ในการจัดการกับ
    การสรรหาพนักงาน การจ้างงาน การฝึกอบรม ผลประโยชน์ และการแก้ไขข้อขัดแย้งในหลาย ๆ ด้านของพนักงานในองค์กร ฝ่ายบุคคลมีความสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้พนักงานในองค์กรสามารถเข้าถึงผลประโยชน์ที่องค์กรมอบให้ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งฝ่ายบุคคลยังมีหน้าที่ช่วยให้พนักงานในองค์กรรู้กฎเกณฑ์และเข้าใจวิธีการทำงานในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง

    ทักษะที่จำเป็นต้องของฝ่ายบุคคล คือ
    ทักษะ hard skill: เป็นทักษะเฉพาะทางที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนงานต่าง ๆ มห้ประสบความสำเร็จ ทักษะนี้เป็นอะไรที่สามารถสอนได้และเรียนรู้กันได้ เช่น ทักษะภาษา ทักษะทางคอมพิวเตอร์ ทักษะการซ่อมบำรุงต่าง ๆ เป็นต้น
    ทักษะ soft skill: เป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ในที่ทำงาน เช่น ทักษะการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร ความมั่นใจ ความสม่ำเสมอ ความซื่อสัตย์ ความคิดริเริ่ม การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์กร การจัดลำดับความสำคัญ ความเป็นผู้นำของทีม เป็นต้น
    ทักษะการติดตามรายละเอียดงาน: เนื่องจากฝ่ายบุคคลเป็นการทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ รวมไปถึงการสรรหาบุคคลเข้ามาทำงานในองค์กร จึงทำให้ต้องจดจำรายละเอียดงานและตำแหน่งต่าง ๆ อย่างแม่นยำอีกด้วย
    ทักษะการจัดการคน: การจัดการคนเป็นหนึ่งในงานที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน เพราะฝ่ายบุคคลมีหน้าที่ในการดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงานในองค์กร รวมไปถึงยังมีบทบาทในการไกล่เกลี่ยปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ ของพนักงานในองค์กร

  • การจัดเก็บเอกสารประวัติพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ

    1. ใบสมัครงานและผลการทดสอบคัดเลือก
    2. หนังสือสัญญาจ้างงาน
    3. หลักฐานที่ทางราชการออกให้
    4. เอกสารคำบรรยายลักษณะงาน
    5. รายการข้อมูลการดำเนินการด้านบุคคลในด้านอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง การปรับปรุงค่าตอบแทนประเภทต่างๆ การโอนย้ายพนักงาน การเปลี่ยนแปลงหน้าที่งาน การเลื่อนตำแหน่ง
    6. เอกสารประเมินผลการปฎิบัติงานในทุกรอบระยะเวลา
    7. เอกสารหนังสือเตือน บันทึกการสอบสวนและการลงโทษพนักงาน(ในกรณีที่มี)
    8. หนังสือยกย่องชมเชยหรือประกาศเกียรติคุณพนักงาน(ในกรณีที่มี)
    9. รายการหรือเอกสารเปลี่ยนแปลงข้อมูลพนักงาน ซึ่งอาจจะมีการปรับปรุงเป็นรายปี

  • งาน HR -1

    1. งานวางแผนกำลังคน / กลยุทธ์ / การบริหารบุคคล (HR planning)

    คาดการณ์ความต้องการและวางแผนใช้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การไว้ล่วงหน้า ว่าต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จำนวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร จะควบคุมจำนวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อจะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    2. งานสรรหาและคัดสรรบุคลากร (Recruitment, Selection & Introduction)

    วิเคราะห์หาความต้องการของงาน ว่าต้องการคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร ลงประกาศรับสมัครงาน คัดกรองผู้สมัครเบื้องต้น นัดหมายสัมภาษณ์งาน ทดสอบด้วยเครื่องมือวิธีการต่าง ๆ ตรวจสอบบุคคลอ้างอิง เช็คประวัติย้อนหลัง กลั่นกรองผู้สมัครที่เข้าตาคัดเลือก แจ้งผลการสัมภาษณ์ ยื่นข้อเสนอจ้างงาน รับเข้าทำงาน ปฐมนิเทศพนักงาน และติดตามความคืบหน้าหลังรับเข้าทำงาน

  • งาน HR -2

    3. งานเอกสาร / ระบบข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร เช่น HRIS / Payroll (Personnel Administration)

    จัดการข้อมูลระบบสารสนเทศด้านงานบุคคล ฐานข้อมูลพนักงาน ประวัติการทำงาน ข้อมูลคุณวุฒิ ข้อมูลประเมินการปฏิบัติงาน ข้อมูลเงินเดือน ข้อมูลการขาดงาน ข้อมูลการทดสอบการสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน ข้อมูลร้องทุกข์ ข้อมูลวิเคราะห์ปัญหางาน และข้อมูลสำรวจทัศนคติในการทำงาน รวมถึง ระบบบริการงานบุคคล การติดตามวัดประเมินผลในระบบ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล เป็นต้น

    4. งานพัฒนาบุคลากร (Training & Development)

    พัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดีขึ้น สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ยากขึ้นและมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้นได้ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติการ ศึกษาดูงาน การสอนงาน (Job Instruction) การสอนแนะ (Coaching) การให้คำปรึกษา (Counselling) การมอบหมายหน้าที่ให้ทำเป็นครั้งคราว (Job Assignment) การให้รักษาการแทน (Acting) การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานเพื่อให้โอกาสศึกษางานที่แปลกใหม่ หรือการได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ และประสบการณ์จากหน่วยงานอื่น (Job Rotation) เป็นต้น

  • งาน HR -3

    5. งานประเมินผลงาน / ให้รางวัล (Performance & Reward Management)

    ออกแบบ พัฒนาและวางแผนด้าน Performance Management ที่สอดคล้องกับลักษณะและทิศทางขององค์กร และสามารถนำแผนงานไปปฏิบัติใช้จริงทั้งองค์กร ตลอดจนติดตามและประเมินผลความคืบหน้าของงานเพื่อจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเสนอผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสะท้อนภาพการบริหาร ด้าน Performance Management ขององค์กร รวมถึงการวางแผนการให้รางวัลพนักงาน ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน

    6. งานบริหารจัดการผู้มีความสามารถโดดเด่น (Talent Management)

    สรรหาคนเก่งการคัดเลือกหรือระบุคนเก่งขององค์กร พัฒนาคนเก่ง บริหารและจูงใจคนเก่ง รักษาคนเก่งไว้ในองค์กร เพื่อรักษาประสิทธิภาพขององค์กร ลดอัตราสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ และนำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน เพราะการมีคนเก่งในองค์กรปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และบุคคลเหล่นี้จะถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำ หรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในอนาคต

  • งาน HR -4

    7. งานวางแผนสืบทอด / ความก้าวหน้าทางอาชีพ (Succession & Career Planning)

    จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ซึ่งเป็นผังของผู้บริหารระดับรองลงไปที่พร้อมจะรับตำแหน่งหลักแทนเจ้าของตำแหน่งเดิมในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กร และวางแผนเกี่ยวกับสายอาชีพของพนักงานตามความสนใจของพนักงาน ตามขีดความสามารถของพนักงาน ศึกษาและสำรวจตำแหน่งงานต่าง ๆ ตลอดจนโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในองค์กร กำหนดจุดมุ่งหมายที่พนักงานและองค์กรปรารถนาทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ฝึกอบรมแนะแนวทางการพัฒนาสำหรับพนักงานนั้น ๆ

    8. งานแรงงานสัมพันธ์ / ความปลอดภัย (Labour Relations)

    ดูแลงานด้านระเบียบวินัยและกฎหมายแรงงาน จัดทำระเบียบข้อบังคับพนักงาน สื่อสารให้พนักงานเข้าใจถึงระเบียบข้อบังคับของบริษัท สอบสวนการกระทำความผิดและลงโทษพนักงาน เจรจาต่อรองกับสหภาพแรงงาน รับและตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของพนักงาน ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอื่น ๆ รวมทั้ง ดูแลงานด้านการส่งเสริม ความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานกับพนักงานและพนักงานกับบริษัท ส่งเสริมกีฬาภายในบริษัท จัดงานเลี้ยงสังสรรค์เนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ จัดทำวารสาร บอร์ดประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ ภายในบริษัท การจัดกิจกรรมร่วมกันภายนอกบริษัท เป็นต้น

  • กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการมือใหม่ควรรู้ -1

    1. การทำสัญญาการจ้างงาน

    สัญญาการจ้างงาน ตาม กฎหมายแรงงาน คือ สัญญาการตกลงว่าจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งการตกลงด้วยวาจาหากทั้งสองฝ่ายยอมรับแล้วก็ถือเป็นสัญญาจ้างงานแล้ว และเมื่อลูกจ้างลงมือทำงานให้นายจ้างแล้วก็ถือว่าสัญญาเป็นอันสมบูรณ์ แต่เพื่อป้องกันข้อยุ่งยากในภายหลังนายจ้างควรจะทำเป็นหนังสือสัญญาจ้างงาน ซึ่งระบุถึงรายละเอียดการทำงาน กฏระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานมิเช่นนั้นจะถือว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ โดยสัญญาจ้างงานนั้นจะมีผลตลอดอายุการทำงานของลูกจ้าง ยกเว้นกรณีที่เป็นสัญญาจ้างชั่วคราวที่ระบุระยะเวลาทำงานที่แน่นอน จะมีผลสิ้นสุดตามระยะเวลาที่ระบุไว้

  • กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการมือใหม่ควรรู้ -2

    2. การกำหนดระยะเวลาการทำงาน และการพักผ่อนระหว่างงานของลูกจ้าง

    ตาม กฏหมายแรงงาน กำหนดเอาไว้ว่างานด้านพาณิชกรรม หรืองานอื่น ๆ ทั่วไประยะเวลาในการทำงานวันละไม่เกิน 9 ชั่วโมง แต่สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง
    งานด้านอุตสาหกรรมไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง
    งานขนส่งไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
    งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายตามที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง
    ลูกจ้างต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ภายหลังจากที่เริ่มทำงานไปแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง
    3. การกำหนดวันหยุด และค่าทำงานในวันหยุด

    ใน 1 สัปดาห์ต้องมีวันหยุดอย่างน้อย 1 วัน โดยวันหยุดต้องห่างกันไม่เกิน 6 วัน
    ใน 1 ปีลูกจ้างมีสิทธิหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วัน
    ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปีมีสิทธิลาพักร้อนได้อย่างน้อย 6 วัน

  • กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการมือใหม่ควรรู้ -3

    4. การทำงานล่วงเวลา และค่าทำงานล่วงเวลา

    ค่าล่วงเวลา : ลูกจ้างที่ทำงานในช่วงเวลาทำงานในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 17.30 / 18.00 น. (เวลาหลังเลิกงานที่แต่ละบริษัทกำหนด) เป็นต้นไป จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1.5 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง
    ค่าทำงานในวันหยุด : ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ 0-8 ชั่วโมงแรก (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง
    ค่าล่วงเวลาในวันหยุด : ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 9 เป็นต้นไป (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 3 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง

  • กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการมือใหม่ควรรู้ -4

    5. กำหนดหลักการลาของลูกจ้าง

    ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ ไม่เกิน 30 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ และหากการลาป่วยนั้นเกินกว่า 3 วันนายจ้างมีสิทธิขอดูใบรับรองแพทย์จากลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่สามารถแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ลูกจ้างสามารถแจ้งเป็นกรณีไป
    ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์สามารถลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ 45 วันและจากรับจากประกันสังคมอีก 45 วัน หากลูกจ้างมาทำงานก่อนกำหนดลาคลอด 90 วันในวันที่มาทำงานนั้นให้จ่ายค่าจ้างตามจำนวนวันที่มาทำงาน
    ลูกจ้างมีสิทธิทำหมันและหยุดทำงานได้ตามคำวินิจฉัยของแพทย์ โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
    ลูกจ้างสามารถลากิจ เพื่อกิจธุระอันจำเป็น โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
    ลูกจ้างที่แจ้งลาเพื่อรับราชการทหาร ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
    ลูกจ้างที่แจ้งลาเพื่อฝึกอบรม สามารถทำได้ โดยการจ่ายค่าจ้างจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด

  • เวลาทำงานและการลา-1

    1. เวลาทำงานปกติ

    งานทั่วไปไม่เกิน 8 ชม./วัน หรือตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน และไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์ งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ได้แก่ งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศ งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี งานเชื่อมโลหะ งานขนส่งวัตถุอันตราย งานผลิตสารเคมีอันตราย งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือ หรือเครื่องจักร ซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย และงานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย ซึ่งโดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูงหรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกิน มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ และต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล ให้มีเวลาทำงานปกติไม่เกิน 7 ชม./วัน และไม่เกิน 42 ชม./สัปดาห์

    2. เวลาพัก

    ระหว่างการทำงานปกติ
    ไม่ น้อยกว่า 1 ชม./วัน หลังจากลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชม. ติดต่อกัน หรืออาจตกลงกันพักเป็นช่วง ๆ ก็ได้แต่รวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ชม./วัน งานในร้านขายอาหารหรือร้านขายเครื่องดื่มซึ่งเปิดจำหน่ายหรือให้บริการในแต่ ละวันไม่ติดต่อกัน อาจพักเกิน 2 ชม./วันก็ได้ นายจ้างอาจจะไม่จัดเวลาพักได้กรณีเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำ ติดต่อกันไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน
    ก่อนการทำงานล่วงเวลา
    กรณีให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชม. ต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที

  • เวลาทำงานและการลา-2

    3. วันหยุด

    วันหยุดประจำสัปดาห์
    ไม่ น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน สำหรับงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอาจตกลงกันสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำ สัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
    วันหยุดตามประเพณี
    ไม่ น้อยกว่า 13 วัน/ปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ โดยพิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตาม ประเพณีในวันทำงานถัดไป สำหรับงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ฯลฯ อาจตกลงกันหยุดวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้
    วันหยุดพักผ่อนประจำปี
    ไม่ น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี อาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีต่อ ๆ ไปได้

    4. การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด

    อาจให้ลูกจ้างทำได้โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป
    อาจ ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น ถ้าลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน
    อาจให้ทำงานในวันหยุด สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม และสถานพยาบาลได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
    ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชม./สัปดาห์

  • เวลาทำงานและการลา-3

    5. วันลา

    วันลาป่วย
    ลูกจ้าง ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น หนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ วันที่ลูกจ้างไม่อาจทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งเกิดจาก การทำงาน หรือวันลาเพื่อคลอดบุตรไม่ถือเป็นวันลาป่วย
    วันลากิจ
    ลูกจ้างลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
    วันลาทำหมัน
    ลูกจ้างลาเพื่อทำหมันและเนื่องจากการทำหมันได้ตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรอง
    วันลารับราชการทหาร
    ลูกจ้างลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความ พรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารได้
    วันลาคลอดบุตร
    ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙0 วัน โดยนับรวมวันหยุด
    วันลาฝึกอบรม
    ลูกจ้าง มีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อประโยชน์ต่อการแรง งานและสวัสดิการสังคมหรือการเพิ่มทักษะความชำนาญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำงานของลูกจ้างตามโครงการหรือหลักสูตร ซึ่งมีกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนและชัดเจน และเพื่อการสอบวัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น ลูกจ้างต้องแจ้งเหตุในการลาโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันลา นายจ้างอาจไม่อนุญาตให้ลาหากในปีที่ลาลูกจ้างเคยได้รับอนุญาตให้ลามาแล้วไม่ น้อยกว่า 30 วัน หรือ 3 ครั้งหรือแสดงได้ว่าการลาของลูกจ้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อ การประกอบธุรกิจของนายจ้าง

  • เวลาทำงานและการลา-4

    6. ค่าตอบแทนในการทำงาน

    ค่าจ้าง
    จ่าย เป็นเงินเท่านั้น จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ถ้ากำหนดเวลาทำงานปกติเกิน 9 ชม./วัน ให้จ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนสำหรับการทำงานที่เกิน 9 ชม.ขึ้นไปไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันทำงาน และในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันหยุด
    ค่าจ้างในวันหยุด
    จ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์
    ค่าจ้างในวันลา
    จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี
    จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทำหมัน
    จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหาร ไม่เกิน 60 วัน/ปี
    จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร ไม่เกิน 45 วัน/ครรภ์

  • ค่าจ้างและค่าล่วงเวลา

    ค่าจ้าง

    1. เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม สัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
    2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
    3. ถ้า ไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐานเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น (อัตรค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ)

    การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

    1. ใน กรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้
    2. กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
    3. ใน กรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน)

    ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

    1. ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
    2. ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
    3. ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

  • การจ่ายชดเชย

    กฎหมายคุ้มครองแรงงาน บัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยเรื่องการเกษียณอายุการทำงานเอาไว้คือ “การเกษียณอายุเสมือนหนึ่งการเลิกจ้าง” ดังนั้นค่าชดเชยเกษียณอายุ จะใช้วิธีคิดคำนวณเหมือนกับค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง ได้แก่

    1. ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน
    2. ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
    3. ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน
    4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
    5. ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน
    6. ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 400 วัน

  • ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย :

    ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
    1. ลูกจ้างลาออกเอง
    2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
    3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
    4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
    5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
    6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
    7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
    8. กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้
    8.1 การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
    8.2 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
    8.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

ข้อมูลวิชาชีพบัญชี